คดีครอบครัว
บริษัท เจ ที ลีเกิ้ล จำกัด
JT Legal Consult
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี
+66 2094 0889
+66 2094 0890
จ. - ศ.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
-
-
การฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทน
-
การฟ้องหย่าและเรียกค่าทดแทน
เมื่อสามีภรรยาที่สมรสกันถูกต้องตามกฎหมาย จะมีการจดทะเบียนสมรสไว้ที่อำเภอหรือสำนักงานเขต เวลาเลิกรา หมดความเป็นสามีภรรยากันต่อไป ต้องการตัดขาดจากกันอย่างแน่นอน ก็ต้องดำเนินการตามกฎหมายที่เรียกว่า “หย่า” เสียให้ถูกต้องตามกฎหมาย เพราะฉะนั้นคำว่า “หย่า” ตามกฎหมายจึงหมายถึงการขาดจากการเป็นสามีภรรยา ตามวิธีการที่กฎหมายได้บัญญัติไว้แต่ถ้าเป็นสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียน คือจูงมือร่วมหอลงโรงกันเองโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถึงจะจัดพิธีแต่งงานใหญ่โตหรูหราสักเพียงใด กฎหมายหมายก็หายอมรับว่าเป็นสามีภรรยากันไม่
ทั้งนี้ การหย่ากันตามกฎหมายได้กำหนดไว้สองอย่างคือ หย่าโดยความยินยอมและหย่าโดยความดื้อรั้นดันทุรังของทั้งสองฝ่าย ซึ่งต้องพึ่งอำนาจศาลให้ช่วยจัดการให้หย่าโดยความยินยอม ซึ่งกฎหมายให้ทำเป็นหนังสือและมีพยานลงชื่ออย่างน้อยสองคน และต้องไปทำการจดทะเบียนหย่าที่เขตหรืออำเภอ ซึ่งการหย่าจะมีผลนับแต่ได้มีการจดทะเบียนหย่าเป็นต้นไป แต่ถ้าไม่มีการจดทะเบียนหย่า การหย่านั้นก็ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ ซึ่งก็เนื่องมาจากฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดหรือทั้งสองฝ่ายถือทิฐิดันทุรัง ก็ต้อง "ฟ้องหย่า" คือต้องหาเหตุ หาเรื่องฟ้องหย่า ยกเว้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 (6) เพียงข้อเดียวที่ฟ้องหย่าได้ โดยไม่ต้องหาเรื่อง เพราะเป็นการหย่าโดยทั้งสองฝ่ายไม่มีความผิด เรียกว่าเป็นการหย่าเพราะสมัครใจแยกกันอยู่
เหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516 มีดังนี้
1. สามีอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องหญิงอื่นฉันภริยาหรือภริยามีชู้ อีกฝ่ายฟ้องหย่าได้
2. สามีหรือภริยาประพฤติชั่ว ไม่ว่าความประพฤติชั่วนั้นจะเป็นความผิดอาญาหรือไม่ ถ้าเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่ง
(ก) ได้รับความอับอายขายอย่างร้ายแรง
(ข) ได้รับความดูถูกเกลียดชังเพราะเหตุที่คงเป็นสามีหรือภริยาหรือฝ่ายที่ประพฤติชั่วอยู่ต่อไป
(ค) ได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพฐานะและความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
3. สามีหรือภริยาทำร้าย หรือทรมานร่างกายหรือจิตใจหรือหมิ่นประมาท หรือเหยียดหยามอีกฝ่ายหนึ่ง หรือบุพการีของอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งนี้ ถ้าเป็นการร้ายแรงอีกฝ่ายหนึ่งนั้นก็ฟ้องหย่าได้
4. สามีหรือภริยาจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินกว่าหนึ่งปีอีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
5. สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก และได้ถูกจำคุกเกินหนึ่งปีในความผิดที่อีกฝ่ายหนึ่งมิได้มีส่วนก่อให้เกิดการกระทำความผิด หรือยินยอมหรือรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิดนั้นด้วย และการเป็นสามีภริยากันต่อไปจะเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสีย หรือเดือดร้อนเกินควร อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
6. สามีและภริยาสมัครใจแยกกันอยู่ เพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้ปกติสุขตลอดมาเกินสามปี หรือแยกกันอยู่ตามคำสั่งของศาลเป็นเวลาเกินสามปี ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
7. สามีหรือภริยาถูกศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญ หรือไปจากภูมิลำเนา หรือถิ่นที่อยู่เป็นเวลาเกินสามปี โดยไม่มีใครทราบแน่ว่าเป็นตายร้ายดีอย่างไร อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
8. สามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งตามสมควร หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการที่เป็นสามีหรือภริยากันอย่างร้ายแรง ทั้งนี้ถ้าการกระทำนั้นถึงขนาดที่อีกฝ่ายหนึ่งเดือดร้อนเกินควร ในเมื่อเอาสภาพ ฐานะ และความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยามาคำนึงประกอบ อีกฝ่ายหนึ่งนั้นฟ้องหย่าได้
9. สามีหรือภริยาวิกลจริตตลอดมาเกินสามปี และความวิกลจริตนั้นมีลักษณะยากจะหายได้ กับทั้งความวิกลจริตถึงขนาดที่จะทนอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาต่อไปไม่ได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
10. สามีหรือภริยาผิดทัณฑ์บนที่ทำให้ไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
11. อีกฝ่ายหนึ่งเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง อันอาจเป็นภัยแก่อีกฝ่ายหนึ่งและโรคมีลักษณะเรื้อรังไม่มีทางที่จะหายได้ อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
12. สามีหรือภริยามีสภาพแห่งกาย ทำให้สามีหรือภริยานั้น ไม่อาจร่วมประเวณีได้ตลอดกาล อีกฝ่ายหนึ่งฟ้องหย่าได้
การฟ้องหย่า ฝ่ายที่เสียหายมีสิทธิได้รับค่าทดแทนด้วย
กรณีแรก ฟ้องหย่าเนื่องจากสามีไปอุปการะเลี้ยงดู หรือยกย่องหญิง อื่นฉันภริยา หรือภริยามีชู้ ฝ่ายภริยาหรือสามีก็มีสิทธิได้รับค่าทดแทนจากสามีหรือภริยา ทั้งจากหญิงอื่นหรือชู้ แล้วแต่กรณี แม้ในกรณีที่ยังไม่ถึงขนาดภริยามีชู้ หรือถึงขนาดสามีไปยกย่องหญิงอื่นฉันภริยา เพียงแค่มีผู้มาล่วงเกินภริยาทำนองชู้สาว เช่น มีคนมากอดจูบภริยาของตน โดยภริยาสมัครใจหรือไม่สมัครใจก็ตาม หรือเพียงแค่มีหญิงอื่นมาแสดงตนโดยเปิดเผยว่ามีสัมพันธ์สวาทกับสามี อย่างนี้สามีหรือภริยา แล้วแต่กรณี ก็สามารถเรียกค่าทดแทนจากผู้ที่มากอดจูบลูบคลำภริยาตน หรือเรียก จากหญิงที่มาเปิดเผยตัวได้
แต่ถ้าปรากฏว่าสามียินยอมพร้อมใจให้ภริยามีชู้ หรือยินยอมพร้อมใจให้พรรคพวกมาล่วงเกินภริยาตนในทำนองชู้สาว สามีก็เรียกค่าทดแทนไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน ภริยาที่อนุญาตให้สามียกย่องหญิงอื่นฉันภริยา หรือยอมให้หญิงแสดงตัวว่าเป็นภริยาอีกคนหนึ่ง อย่างนี้ภริยาเรียกค่าทดแทนไม่ได้เช่นกัน
กรณีที่สอง ก็คือกรณีสามีภริยาทำร้ายหรือทรมานร่างกายหรือจิตใจ กับกรณีสามีภริยาจงใจจะทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งกรณีสามีหรือภริยาไม่ให้ความช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู หรือทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยาอย่างร้ายแรง สามอย่างที่ว่านี้ ถ้ามีสาเหตุมาจากฝ่ายหนึ่งกลั่นแกล้งอีกฝ่ายหนึ่ง หรือมุ่งที่จะให้เกิดขึ้นเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทนไม่ได้ ฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าก็หมดสิทธิได้รับค่าทดแทนจากฝ่ายที่ต้องรับผิดได้อีกด้วย
ค่าทดแทนทั้งสองกรณี กฎหมายบอกว่าให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์ โดยศาลจะสั่งให้ครั้งเดียว หรือแบ่งชำระเป็นงวดๆ ทั้งนี้มีกำหนดเวลาตามที่ศาลจะเห็นควร นอกจากนี้ ศาลก็จะดูจำนวนทรัพย์สินที่ฝ่ายซึ่งจะต้องได้รับไปจากการแบ่งสินสมรสเพราะการหย่าด้วยว่าได้รับไปมากน้อยแค่ไหนค่าเลี้ยงชีพ
ในกรณีหย่าที่เกิดจากความผิดของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแต่เพียงฝ่ายเดียว และการหย่าทำให้อีกฝ่ายยากจนลงเพราะไม่มีรายได้พอจากทรัพย์สินหรือจากงานที่ทำอยู่ระหว่างสมรส อีกฝ่ายหนึ่งนั้นก็ขอให้ฝ่ายที่ต้องรับผิดจ่ายค่าเลี้ยงชีพให้ได้ เช่น สามีทุบตีภริยาทุกวัน ก็เรียกได้ว่าสามีเป็นผู้ผิดแต่ฝ่ายเดียว ซึ่งภริยาฟ้องหย่าได้และปรากฏว่าการหย่าทำให้ภริยาเลี้ยงตัวเองไม่รอด เพราะภริยาไม่ได้ทำงาน หรือทำงานได้เงินเดือนน้อย ต้องพึ่งสามีมาตลอด ทางศาลจะกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ให้ และฐานะของผู้รับ ถ้าปรากฏว่าหย่ากันแล้วสามีเป็นฝ่ายจนลง เพราะต้องพึ่งเงินทองของภริยาซึ่งมีฐานะดีกว่ามาตลอด อย่างนี้ศาลไม่กำหนดค่าเลี้ยงชีพให้
อันว่าสิทธิเรียกร้องค่าเลี้ยงชีพนั้นเป็นอันหมดสิ้น ถ้าไม่ได้ฟ้องขอไว้ในคดีหย่า เพราะฉะนั้นถ้ามีสิทธิ เรียกร้องสิทธิด้วยมิฉะนั้นจะหมดสิทธิสมมติว่าศาลกำหนดค่าเลี้ยงชีพให้แล้ว ต่อมาปรากฏว่าฝ่ายที่ได้รับค่าเลี้ยงชีพแต่งงานใหม่ สิทธิได้รับค่าเลี้ยงชีพก็จะหมดไปทันทีส่วนเรื่องอายุความสิทธิฟ้องร้องในเหตุหย่าตาม (1) (2) (3) หรือ (6) ย่อมระงับไปเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่ผู้กล่าวอ้างรู้หรือรู้ความจริงซึ่งตนอาจยกขึ้นกล่าวอ้าง เช่น สามีรู้ว่าภริยามีชู้แล้วไม่ฟ้อง หย่าจนพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่รู้ความจริง สิทธิฟ้องด้วยเหตุนี้ย่อมหมดสิ้นไปทันที แต่อาจนำมาเป็นข้อสนับสนุนคดีฟ้องหย่าซึ่งอาศัยเหตุอื่นเช่น อ้างว่าภริยาประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง (ถ้าเหตุหย่าข้อนี้ยังไม่พ้นกำหนด 1 ปี)
สุดท้ายก็คือ การแบ่งสินสมรส กฎหมายบอกว่าให้แบ่งสินสมรสให้ชายและหญิงได้ส่วนเท่าๆ กัน ถ้าฝ่ายหนึ่งเอาสินสมรสของอีกฝ่ายหนึ่งไปจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว หรือทำให้อีกฝ่ายเสียหาย หรือไม่ได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง จงใจทำลายให้สูญเสียไป ฝ่ายที่ได้จำหน่ายที่จำหน่ายไปต้องรับผิดในส่วนที่ขาหายไป
ประเด็นอายุความ