ว่าความ
บริษัท เจ ที ลีเกิ้ล จำกัด
JT Legal Consult
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี
+66 2094 0889
+66 2094 0890
จ. - ศ.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
คดีละเมิด
ละเมิด คือ การกระทำใด ๆของบุคคลหรือการกระทำของบุคคลอันก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น ซึ่งอาจเป็นการกระทำของตนเองหรืออาจเป็นการกระทำของบุคคลอื่น โดยผู้ที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำเช่นว่านั้นชอบที่จะได้รับการเยียวยา โดยการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหรือเรียกร้องให้ผู้กระทำละเมิดปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติในลักษณะอื่น ๆ เพื่อเป็นการเยียวยาความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อผู้ถูกกระทำละเมิดได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 บัญญัติว่า “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่น โดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น” จากบทบัญญัติดังกล่าวองค์ประกอบของการกระทำที่เป็นละเมิด จึงมีดังนี้
1.กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ
2.กระทำโดยผิดกฎหมาย
3.การกระทำก่อให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่น
4.ความเสียหายเป็นผลมาจากการกระทำดังกล่าวนั้น
ส่วนค่าสินไหมทดแทนอันเกิดจากการละเมิด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 438 บัญญัติว่า “ค่าสินไหมทดแทนจะพึงใช้โดยสถานใดเพียงใดนั้นให้ศาลวินิจฉัยตามควรแก่พฤติการณ์และความร้ายแรงแห่งละเมิด
อนึ่งค่าสินไหมทดแทนนั้นได้แก่การคืนทรัพย์สินอันผู้เสียหายต้องเสียไปเพราะละเมิดหรือใช้ราคาทรัพย์สินนั้นรวมทั้งค่าเสียหายอันจะพึงบังคับให้ใช้เพื่อความเสียหายอย่างใด ๆ อันได้ก่อขึ้นนั้นด้วย” ซึ่งปกติแล้วการชดใช้หรือชำระค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ การคืนทรัพย์สินที่ผู้เสียหายต้องสูญเสียไปเพราะการละเมิด หรือการให้ชดใช้ราคาทรัพย์สินรวมทั้งค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำละเมิด"
การฟ้องร้องดำเนินคดี