คดีจำนอง

ว่าความ
บริษัท เจ ที ลีเกิ้ล จำกัด
JT Legal Consult
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี
+66 2094 0889
+66 2094 0890
จ. - ศ.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
Slider

คดีจำนอง


จำนอง คือ การที่บุคคลคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้จำนอง” เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดินหรือทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า “ผู้รับจำนอง” เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ เช่น หนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เป็นต้น

ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 702 โดยในการจำนองนั้นผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง สัญญาจำนองจะสมบูรณ์ต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานที่ดินซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจ มิฉะนั้นสัญญาจำนองตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันแก่คู่สัญญาแต่อย่างใด

 

การฟ้องร้องดำเนินคดี

 

คดีจำนองหรือผิดสัญญาจำนองนั้น มีแนวคำพิพากษาว่าหากเป็นการให้จำนองเป็นกิจธุระ ให้ถือว่าเป็นคดีผู้บริโภค ซึ่งการฟ้องร้องคดีจะต้องฟ้องยังภูมิลำเนาของจำเลยเท่านั้น โดยในการฟ้องร้องดำเนินคดีนั้นจะต้องมีหลักฐานสำคัญ ได้แก่ สัญญากู้ยืม หนังสือสัญญาจำนอง จดหมายทวงถามให้ชำระหนี้และบอกกล่าวบังคับจำนอง เป็นต้น

การฟ้องบังคับจำนองนั้น ก่อนฟ้องผู้รับจำนองต้องมีหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบอกกล่าวให้บังคับจำนองไปยังลูกหนี้ว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาไม่น้อยกว่า 60 วันนับแต่วันที่ลูกหนี้ได้รับหรือถือว่าได้รับหนังสือบอกกล่าวทวงถามและบอกกล่าวบังคับจำนอง หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้คืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้รับจำนองจึงจะมีสิทธิฟ้องร้องคดีต่อศาล เพื่อให้ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ ก็ขอให้ศาลสั่งให้นำเอาทรัพย์ที่จำนองนั้นออกขายทอดตลาดนำเงินมาชำระหนี้ให้แก่ผู้รับจำนองได้

หนี้จำนองนั้นไม่มีอายุความ กล่าวคือ แม้ว่าหนี้ที่เป็นหนี้ประธานจะขาดอายุความแล้วก็ตาม ผู้รับจำนองก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับจำนองเอาทรัพย์สินที่จำนองได้ ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองในทรัพย์สินที่จำนองแต่อย่างใด แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า 5 ปีไม่ได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 745

สอบถามเพิ่มเติม