สัญญาโอนหุ้น

สัญญาต่างๆ
บริษัท เจ ที ลีเกิ้ล จำกัด
JT Legal Consult
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี
+66 2094 0889
+66 2094 0890
จ. - ศ.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
Slider

สัญญาโอนหุ้น


การโอนหุ้นนั้น มิใช่เจ้าของหุ้นจะทำการโอนได้ตามใจโดยไม่ต้องมีแบบหรือวิธีการ กล่าวคือการโอนหุ้นนั้นจะต้องทำตามวิธีการและหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ โดยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 "อันว่าหุ้นนั้นย่อมโอนกันได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่เมื่อเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น"

 

การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นนั้น ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อของผู้โอนกับผู้รับโอน มีพยานคนหนึ่งเป็นอย่างน้อยลงชื่อรับรองลายมือนั้น ๆ ด้วยแล้ว ท่านว่าเป็นโมฆะ อนึ่ง ตราสารอันนั้นต้องแถลงเลขหมายของหุ้นซึ่งโอนกันนั้นด้วย

การโอนเช่นนี้จะนำมาใช้แก่บริษัทหรือบุคคลภายนอกไม่ได้ จนกว่าจะได้จดแจ้งการโอนทั้งชื่อและสำนักของผู้รับโอนนั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น

เมื่อพิจารณาบทบัญญัติแห่งตัวบทกฎหมายดังกล่าวพิจารณาประกอบคำพิพากษาของศาลฎีกาแล้วจะเห็นได้ว่า หลักเกณฑ์การโอนหุ้นมีหลักสำคัญๆดังนี้

 

1. ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 413/2503 วางหลักว่า การโอนหุ้นชนิดระบุชื่อ ถ้ามิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนผู้รับโอน และมีพยานรับรองลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอนแล้ว ย่อมตกเป็นโมฆะ ดังนั้นแม้ผู้รับโอนหุ้นรายต่อมาจะรับโอนมาโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนก็ไม่อาจเป็นเจ้าของหุ้นนั้นได้

2. ตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1304/2515 วางหลักว่า ผู้โอนเป็นผู้ถือหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้นได้มีหนังสือถึงบริษัทว่ามีความประสงค์จะโอนหุ้นให้แก่ผู้รับโอนขอให้จัดการโอนให้ และผู้รับโอนก็มีหนังสือถึงบริษัทว่ามีความประสงค์จะรับโอนหุ้นดังกล่าวจากผู้โอน ขอให้จัดการโอนให้ด้วยหนังสือ 2 ฉบับนี้เป็นเรื่องที่ผู้โอนกับผู้รับโอนมีไปถึงบริษัทให้จัดการโอนหุ้นให้เท่านั้น หาใช่เป็นหนังสือโอนหุ้นที่ผู้โอนกับผู้รับโอนลงลายมือชื่อไว้ต่อกัน แม้ผู้รับโอนจะสมัครใจซื้อขายหุ้นกัน แต่เมื่อมิได้ทำตามแบบซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1129 วรรคสอง บังคับไว้ การโอนหุ้นก็ตกเป็นโมฆะ

สอบถามเพิ่มเติม