สัญญาต่างๆ
บริษัท เจ ที ลีเกิ้ล จำกัด
JT Legal Consult
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี
+66 2094 0889
+66 2094 0890
จ. - ศ.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
-
-
สัญญาก่อนสมรส
-
สัญญาก่อนสมรส
การเป็นสามีภรรยากันจะให้ยืนยาวนั้น นอกจากความรักใคร่กันแล้ว เรื่องทรัพย์สินของกันและกันก็มีความเช่นเดียวกัน เนื่องจากคู่สมรสแต่ละฝ่ายมีทรัพย์สินมากน้อยแตกต่างกัน เมื่อตกลงใช้ชีวิตร่วมกันแล้ว การตกลงกันเกี่ยวกับเรื่องทรัพย์สินดังกล่าวจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งเอกสารสัญญาทางกฎหมายที่คู่สมรสลงนามผูกพันในสัญญาก่อนเข้าสู่การสมรสตามกฎหมาย เรียกว่า “สัญญาก่อนสมรส”
การทำสัญญาก่อนสมรสเป็นการจัดให้มีการกำหนดในเรื่องทรัพย์สินของบุคคลก่อนที่จะทำการสมรสกันตามกฎหมายให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคู่สัญญา หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นการยกเว้นมิให้ใช้กฎหมายในเรื่องนั้น ๆบังคับแก่การแบ่งสินสมรส กล่าวคือเมื่อคู่สมรสหย่าขาดจากกัน สินสมรสระหว่างสามีภรรยา จะถูกแบ่งตามที่คู่สมรสได้ตกลงกันไว้ในสัญญาก่อนสมรสนั่นเอง
เกี่ยวกับการทำสัญญาก่อนสมรสนั้น อยู่ภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยเรื่องครอบครัว ตั้งแต่มาตรา 1465 ถึงมาตรา 1493 แต่มาตราสำคัญอยู่ที่มาตรา 1465 ซึ่งบัญญัติไว้ว่า "ถ้าสามีภริยามิได้ทำสัญญากันไว้ในเรื่องทรัพย์สินเป็นพิเศษก่อนสมรส ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในเรื่องทรัพย์สินนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติในหมวดนี้
ถ้าข้อความใดในสัญญาก่อนสมรสขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือระบุให้ใช้กฎหมายประเทศอื่นบังคับเรื่องทรัพย์สินนั้น ข้อความนั้นๆ เป็นโมฆะ" เมื่อพิจารณาตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้วจะเห็นได้ว่าสัญญาก่อนสมรสเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับทรัพย์สินระหว่างสามีและภรรยาที่ทำระหว่างกัน และการทำสัญญาก่อนสมรสต้องทำตามแบบของกฎหมายเท่านั้น มิฉะนั้นไม่มีผลใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
หลักเกณฑ์การสัญญาก่อนสมรสที่ถูกต้องและมีผลบังคับใช้ตามกฎหมายมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.ได้รับการเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในวันเดียวกันก่อนการจดทะเบียนสมรสหรือ
2.เป็นสัญญาที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรและลงนามโดยคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย
3.ต้องมีพยานสองคน
4.สัญญาดังกล่าวจะต้องได้รับการแนบเข้ากับใบสำคัญการสมรสที่มีการจดทะเบียนสมรส
กล่าวโดยสรุปคือ การทำสัญญาก่อนสมรสนั้น อาจทำได้โดยการจดแจ้งสัญญาก่อนสมรสนั้นไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับการจดทะเบียนสมรส หรือโดยการทำเป็นหนังสือสัญญาก่อนสมรสลงลายมือชื่อคู่สมรสพร้อมทั้งจดไว้ในทะเบียนสมรสในขณะจดทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้ก็ได้ ซึ่งกฎหมายให้ทำตามแบบใดแบบหนึ่งข้างต้นเท่านั้น