สัญญากู้ยืมเงิน

สัญญาต่างๆ
บริษัท เจ ที ลีเกิ้ล จำกัด
JT Legal Consult
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี
+66 2094 0889
+66 2094 0890
จ. - ศ.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
Slider

สัญญากู้ยืมเงิน


การประกอบกิจการหรือธุรกิจในปัจจุบัน ผู้ประกอบกิจการมักประสบปัญหาหลักคือเงินทุน เนื่องจากการทำธุรกิจอะไรนั้นก็จำเป็นต้องมีเงินทุน โดยช่องทางการหาเงินทุนนั้นก็มีหลายช่องทาง หนึ่งในช่องทางที่สำคัญนั้นก็คือ การกู้ยืมเงิน ซึ่งทำได้ทั้งการกู้ยืมเงินจากสถาบันทางการเงินต่าง ๆและบุคคลธรรมดาทั่วไป แต่ไม่ว่าเช่นไรการกู้ยืมเงินก็อยู่ภายใต้กฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น

 

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 บัญญัติว่า “การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมกันเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่”

 

 เมื่อพิจารณาบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวแล้วจะพบว่าการกู้ยืมเงินมีหลักเกณฑ์ตามกฎหมายและตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาดังนี้

 

1.สัญญากู้ยืมเงินเป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลืองชนิดหนึ่ง ซึ่งจะบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ให้ยืม

2.การกู้ยืมเงินเกินกว่าสองพันบาทต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ยืมไว้ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้

3.การกู้ยืมเงินห้ามคิดดอกเบี้ยเกินร้อยละ 15 ต่อปี ยกเว้นสถาบันการเงินเป็นผู้ให้กู้สามารถคิดดอกเบี้ยได้ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ดังนั้นหากคิดดอกเบี้ยเกินอัตราดังกล่าว ส่วนดอกเบี้ยนั้นเป็นโมฆะ เพราะเป็นการคิดดอกเบี้ยที่ฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654

4.ห้ามมิให้คิดดอกเบี้ยในดอกเบี้ยที่ค้างชำระ กล่าวคือห้ามคิดดอกเบี้ยทบดอกเบี้ย แต่ถ้าเป็นดอกเบี้ยที่ค้างชำระไม่น้อยกว่าปีหนึ่ง คู่สัญญากู้ยืมจะตกลงกันให้เอาดอกเบี้ยนั้นทบเข้ากับต้นเงินแล้วให้คิดดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่ทบเข้ากันนั้นก็ได้ แต่การตกลงเช่นนั้นต้องทำเป็นหนังสือ

5.การกู้ยืมเงินนั้น ผู้กู้หรือผู้ให้กู้อาจยอมรับเอาสิ่งของหรือทรัพย์สินอย่างอื่นแทนเงินนั้นได้ โดยให้คิดเป็นจำนวนเท่ากับราคาท้องตลาดแห่งสิ่งของหรือทรัพย์สินนั้นในเวลาและ ณ สถานที่ส่งมอบ

6.การฟ้องร้องคดีผิดสัญญากู้ยืมเงินนั้น ใช้กำหนดอายุความทั่วไปคือสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30

สอบถามเพิ่มเติม