พินัยกรรม

สัญญาต่างๆ
บริษัท เจ ที ลีเกิ้ล จำกัด
JT Legal Consult
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี
+66 2094 0889
+66 2094 0890
จ. - ศ.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
Slider

พินัยกรรม


บุคคลเกิดมาก็ต้องตาย แต่หากต้องตายลงแล้วจะทำอย่างไรให้บุคคลที่อยู่ข้างหลังไม่ต้องมาทะเลาะเบาะแว้งกันเกี่ยวกับการจัดการ แบ่งสรรทรัพย์สิน หนี้สินต่างๆของผู้ตาย วิธีการที่จะป้องกันความวุ่นวายดังกล่าวได้นั้น ทางกฎหมายหมายเรียกว่าการทำ “พินัยกรรม” พินัยกรรม คือ การแสดงเจตนาของบุคคลใดเพื่อกำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ หรือ กิจการต่าง ๆของผู้ทำพินัยกรรม เพื่อที่จะเกิดผลบังคับตามกฎหมายในเมื่อผู้ทำพินัยกรรมถึงแก่ความตาย

 

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ได้กำหนดแบบของพินัยกรรม ไว้ 5 แบบ ได้แก่

 

1.พินัยกรรมแบบธรรมดา (ป.พ.พ. มาตรา 1656)

2.พินัยกรรมเขียนเองทั้งฉบับ (ป.พ.พ. มาตรา 1657)

3.พินัยกรรมทำเป็นเอกสารฝ่ายเมือง (ป.พ.พ. มาตรา 1658)

4.พินัยกรรมทำเป็นเอกสารลับ (ป.พ.พ. มาตรา 1660)

5.พินัยกรรมทำด้วยวาจา (ป.พ.พ. มาตรา 1663)

 

ตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้น เมื่อพิจารณาพินัยกรรมทั้ง 5 แบบแล้วจะเห็นได้ว่า พินัยกรรมที่ดูจะปลอดภัยสูงสุดในด้านการถูกโต้แย้งความไม่สมบูรณ์ของพินัยกรรม คือพินัยกรรมที่ทำเป็นแบบเอกสารลับ แต่การทำพินัยกรรมแบบนี้แม้จะปลอดภัยและป้องกันการโต้แย้งได้ดีที่สุดก็ตาม แต่ทางปฏิบัติติแล้วการทำพินัยกรรมแบบนี้มักไม่ได้รับความนิยมกันนักแต่หากจะกล่าวถึงพินัยกรรมแบบที่ได้ความนิยมมากที่สุด ก็คือ พินัยกรรมแบบธรรมดา

 

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 ซึ่งบัญญัติว่า “พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้”

 

แต่ในการกลับกันพินัยกรรมแบบนี้ก็มักมีปัญหาอยู่มาก อาทิเช่น ถูกทายาทหรือผู้รับพินัยกรรมที่ไม่พอใจในส่วนแบ่งที่ตนได้รับโต้แย้งว่าพินัยกรรมไม่สมบูรณ์ ซึ่งสาเหตุที่สำคัญ ที่มักถูกโต้แย้งดังกล่าว ได้แก่

 

1.โต้แย้งว่าลายมือชื่อที่ลงในพินัยกรรมมิใช่ลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม

2.โต้แย้งว่าการแสดงเจตนาทำพินัยกรรมของผู้ทำพินัยกรรมนั้นไม่สมบูรณ์

 

หลักเกณฑ์การทำพินัยกรรมที่สำคัญๆนั้น ศาลฎีกาได้วางหลักเกณฑ์ไว้ในคำพิพากษาศาลฎีกา ดังต่อไปนี้

 

1. ผู้ที่จะทำพินัยกรรมเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินได้นั้น ทรัพย์สินดังกล่าวจะต้องเป็นของตนเองเท่านั้น

2.การแสดงเจตนาทำพินัยกรรม จะต้องทำในขณะที่ผู้ทำพินัยกรรมมีสติสัมปชัญญะบริบูรณ์

3 .ถ้าข้อกำหนดพินัยกรรมบางข้อไม่สามารถทำได้ ข้อกำหนดพินัยกรรมข้อนั้นเป็นอันสิ้นผลไป  4. การระบุสถานที่ทำพินัยกรรมผิดจากความเป็นจริงไม่ทำให้พินัยกรรมต้องเสียไปแต่อย่างใด

สอบถามเพิ่มเติม