คดีแรงงาน

ว่าความ
บริษัท เจ ที ลีเกิ้ล จำกัด
JT Legal Consult
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี
+66 2094 0889
+66 2094 0890
จ. - ศ.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
Slider
    • คดีแรงงาน

คดีแรงงาน


 

หลักในการการพิจารณาคดีแรงงานนั้น ศาลจะกระทำด้วยความรวดเร็ว ฉะนั้นต้องมีที่ปรึกษาที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระบวนการการพิจารณาคดีของศาลแรงงานทนายความมีหน้าที่เตรียม พยานหลักฐาน ให้พร้อมไว้และควรไปศาลตามกำหนดนัดทุกครั้ง เพื่อให้ศาลพิจารณาได้ทันที

การดำเนินคดีในศาลแรงงานนั้น โดยหลักแล้วศาลจะพยายามไกล่เกลี่ยให้โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันหรือประนีประนอมยอมความกันเสมอ ทั้งนี้เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายได้มีความเข้าใจอันดีกันต่อไป โดยไม่มีฝ่ายใดได้ชื่อว่าเป็นฝ่ายแพ้หรือฝ่ายชนะ โจทก์และจำเลยจึงควรเข้าใจ และให้ความร่วมมือกับวิธีการของศาลโดยในการเจรจาไกล่เกลี่ยต้องอาศัยทนายความที่มากประสบการณ์ร่วมเจรจาไกล่เกลี่ยเพื่อรักษาผลประโยชน์ของลูกความให้ดีที่สุด

 

ขั้นตอนในการดำเนินคดี

 

นายจ้าง ลูกจ้าง ผู้มีสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายหรือผู้กระทำการแทน เข้ามาพบทนายความและแจ้งข้อเท็จจริงต่าง ๆให้แก่ทนายความได้ทราบ  ทนายความมีหน้าที่รวบรวมข้อเท็จจริงและปรับเข้ากับกฎหมายที่รับรองคุ้มครองสิทธิอยู่  จัดทำคำฟ้องและยื่นฟ้องโดยทำเป็นหนังสือยื่นต่อหน้าศาล

แต่หากท่านตกเป็นจำเลยได้รับสำเนาคำฟ้องไว้แล้ว มีหน้าที่จะต้องยื่นคำให้การก่อนวันนัดพิจารณาหรือไปให้การในวันนัดทีเดียวก็ได้ในวันนัดพิจารณา ทั้งสองฝ่ายต้องมาศาล ซึ่งหลังจากที่ท่านได้รับสำเนาคำฟ้องแล้วต้องรีบติดต่อทนายความเพื่อรับคำปรึกษาจากทนายความประเมินแนวทางการต่อสู้คดี รวบรวมข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงกำหนดแนวทางการต่อสู้คดี รวบรวมเป็นคำให้การต่อสู้คดียื่นต่อศาล  ซึ่งในแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยทนายความผู้มากด้วยประสบการณ์ และ คอยดูแลกระบวนการต่าง ๆให้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของลูกความให้ดีที่สุด

ข้อพิพาทในคดีแรงงานส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเรื่อง การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม    กล่าวคือ  การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควร    หรือเลิกจ้างโดยไม่มีกฎหมายกำหนดให้เลิกจ้างได้ ซึ่งความจริงแล้วนายจ้างสามารถบอกเลิกสัญญาจ้างลูกจ้างได้ แม้ว่าลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดต่อนายจ้าง  แต่นายจ้างจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายแรงงาน

แต่อย่างไรก็ตามนายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างและเลิกจ้างได้ทันทีโดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า   ซึ่งเลิกจ้างในกรณีดังต่อไปนี้

1.ลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง

2.จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

3.ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

4.ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม  และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือน     หนังสือตักเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำผิด

5.  ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร

6.ได้รับโทษจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก  เว้นแต่เป็นโทษสำหรับความผิดที่ได้กระทำโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ(คือ จำคุกไม่เกิน 1เดือน ปรับไม่เกิน 1,000บาท)

 

เมื่อถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมสิทธิของลูกจ้าง สามารถเลือกปฏิบัติได้ 2 อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง   ดังต่อไปนี้

 

1.ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานโดยต่างจังหวัดยื่นที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด และในเขตกรุงเทพ ยื่นได้ที่กลุ่มงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เมื่อได้รับคำร้องแล้วพนักงานตรวจแรงงานก็จะเรียกนายจ้างและลูกจ้างมาสอบข้อเท็จจริงและทำการวินิจฉัยว่าเป็นการเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่  เมื่อมีคำสั่งออกมาลูกจ้างไม่เห็นชอบด้วยก็ชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่ง พนักงานตรวจแรงงาน ต่ออธิบดีกระทรวงแรงงานและหากลูกจ้างยังไม่พอใจก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลแรงงานให้เพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานได้

2.ยื่นฟ้องโดยตรงต่อศาลแรงงาน

ลูกจ้างมีสิทธิเรียกร้องขอท้ายคำร้องหรือท้ายฟ้องดังต่อไปนี้

1. ขอให้นายจ้างรับกลับเข้าทำงาน ในตำแหน่งเดิมและสภาพการจ้างอย่างเดิม โดย

 - เรียกค่าจ้างที่ขาดไปจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม จนกว่าจะรับกลับเข้าทำงาน

 -  ดอกเบี้ย

2. กรณีไม่อาจทำงานร่วมกันต่อไปได้

- เรียกค่าสินจ้างแทนการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า

- เรียกค่าชดเชยการเลิกจ้าง

- เรียกค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

- ดอกเบี้ย

สอบถามเพิ่มเติม