คดีเช่าทรัพย์

ว่าความ
บริษัท เจ ที ลีเกิ้ล จำกัด
JT Legal Consult
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี
+66 2094 0889
+66 2094 0890
จ. - ศ.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
Slider

คดีเช่าทรัพย์


การเช่าทรัพย์ถือเป็นเอกเทศสัญญาชนิดหนึ่งซึ่งมีปรากฏให้เห็นในหลายรูปแบบทั้งการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์   เช่น เช่าสิ่งปลูกสร้าง  เช่าที่ดิน  เป็นต้น  และการให้เช่าสังหาริมทรัพย์ เช่น ให้เช่ารถยนต์ เป็นต้น

ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 537 บัญญัติว่า “อันว่าเช่าทรัพย์สินนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น” ซึ่งตามบทบัญญัติดังกล่าวนั้นเช่าทรัพย์มีสาระสำคัญคือ

 

1.เช่าทรัพย์เป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้ให้เช่ามีหน้าที่จะต้องให้ผู้เช่าได้ใช้หรือได้รับประโยชน์จากทรัพย์สินที่เช่านั้น ส่วนผู้เช่ามีหน้าที่จะต้องชำระค่าเช่าให้แก่ผู้ให้เช่า

2.เช่าทรัพย์เป็นสัญญาที่ไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ ผู้เช่ามีสิทธิเพียงแต่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่ชั่วระยะเวลาหนึ่งตามสัญญาเช่าเท่านั้น

3.สัญญาเช่าทรัพย์เป็นสัญญาซึ่งมีระยะเวลาอันจำกัด

4.สัญญาเช่าทรัพย์เป็นสัญญาที่ถือคุณสมบัติของผู้เช่าเป็นสำคัญ สัญญาเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า เมื่อผู้เช่าตายสัญญาเช่าย่อมสิ้นสุดลง

 

การฟ้องร้องดำเนินคดี

 

การฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลในคดีเช่าทรัพย์นั้น เนื่องจากการเช่ามีหลายรูปแบบอย่างที่กล่าวไว้แล้ว จึงต้องพิจารณาก่อนว่าเป็นการเช่ารูปแบบใด กล่าวคือ หากเป็นการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เช่น ฟ้องเรียกค่าเช่าบ้าน จะต้องกระทำภายในกำหนดอายุความ 5 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/33 (3)  , หากเป็นการเช่าสังหาริมทรัพย์ เช่น ฟ้องร้องเรียกค่าเช่าจากทรัพย์สินที่ให้เช่า จะต้องกระทำภายในกำหนดอายุความ 2 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 (6) โดยในการฟ้องร้องดำเนินคดีเช่าทรัพย์นั้น จะต้องมีหลักฐาน ได้แก่ สัญญาเช่า สำเนาโฉนดที่ดิน หลักฐานการชำระค่าเช่า หนังสือบอกกล่าว เป็นต้น

สอบถามเพิ่มเติม