ว่าความ
บริษัท เจ ที ลีเกิ้ล จำกัด
JT Legal Consult
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี
+66 2094 0889
+66 2094 0890
จ. - ศ.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
-
-
คดีผิดสัญญาซื้อขาย
-
คดีผิดสัญญาซื้อขาย
สัญญาซื้อขายนั้น เป็นสัญญาประเภทหนึ่งที่มีพิพาทกันและเป็นคดีที่ฟ้องร้องกันต่อศาลเป็นจำนวนมาก ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 ได้บัญญัติความหมายของสัญญาซื้อขายว่า “อันว่าซื้อขายนั้นคือสัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่าผู้ซื้อและผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”
สัญญาซื้อขายจะสมบูรณ์ได้นั้นจะต้องมีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ซื้อ ซึ่งหลักกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นจะโอนไปยังผู้ซื้อตั้งแต่เมื่อได้ตกลงทำสัญญาซื้อขายกัน ข้อยกเว้นกรรมสิทธิ์ใทรัพย์สินนั้นยังไม่โอนไป ในกรณีดังต่อไปนี้
1. สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาดที่มีเงื่อนไขหรือเงื่อนเวลานั้น ซึ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินดังกล่าวจะโอนก็ต่อเมื่อเกิดเงื่อนไขหรือถึงกำหนดเงื่อนเวลานั้นแล้ว
2.สัญญาซื้อขายทรัพย์ที่ยังไม่เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่ง หมายถึงสัญญาซื้อขายทรัพย์ที่ยังไม่ได้กำหนดประเภทหรือจำนวนไว้แน่นอนว่าอันไหน สิ่งไหนตัวไหน ในกรณีเช่นนี้กรรมสิทธิ์จะโอนก็ต่อเมื่อได้ทำให้เป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งแล้วโดยการนับ ชั่ง ตวง วัด หรือคัดเลือกทรัพย์ เพื่อให้เกิดความแน่นอนชิ้นไหนอันไหนตัวไหนหรือจำนวนไหน
3.สัญญาซื้อขายทรัพย์เฉพาะสิ่งที่ยังต้องดำเนินการบางอย่างเพื่อให้รู้ราคาแน่นอนในกรณีนี้กรรมสิทธิ์ยังไม่โอนไปจนกว่าจะมีการกระทำเพื่อให้รู้ราคานั้นก่อน
4.ต้องมีการตกลงว่าจะชำระราคา โดยเพียงแต่ตกลงกันว่าจะชำระราคาก็เป็นเพียงพอแล้ว ยังไม่ต้องชำระราคาทันทีจะตกลงชำระกันในภายหลังจากสัญญาเกิดขึ้นแล้วก็ได้
5.บุคคลที่มีสิทธิเข้าทำสัญญาซื้อขายทั้งผู้ซื้อและผู้ขายจะต้องเป็นบุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว
การฟ้องร้องดำเนินคดี
เมื่อคู่สัญญาฝ่ายใดผิดสัญญา คู่สัญญาอีกฝ่ายมีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีต่อศาลได้ โดยฟ้องให้อีกฝ่ายรับผิดตามสัญญา เช่น ผู้ซื้อฟ้องร้องให้ผู้ขายส่งมอบสินค้าที่ซื้อขาย , ผู้ซื้อฟ้องให้ผู้ขายรับผิดในความบกพร่องทรัพย์สินที่เสียหาย , ผู้ซื้อฟ้องให้ผู้ขายชำระค่าเสียหายอันเกิดแต่ความเสียหายของทรัพย์สิน , ผู้ขายฟ้องให้ผู้ซื้อชำระราคาค่าสินค้าพร้อมดอกเบี้ย เป็นต้น