คดีขับไล่

ว่าความ
บริษัท เจ ที ลีเกิ้ล จำกัด
JT Legal Consult
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี
+66 2094 0889
+66 2094 0890
จ. - ศ.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
Slider

คดีฟ้องขับไล่


คดีฟ้องขับไล่นั้นมีมูลเหตุตามกฎหมายที่จะเป็นคดีฟ้องขับไล่อยู่หลายประการ อาทิเช่น อาศัย ละเมิด สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน เช่า เป็นต้น โดยมูลเหตุสำคัญและเป็นคดีฟ้องขับไล่กันอย่างมากในปัจจุบัน ได้แก่ คดีฟ้องขับไล่เนื่องจากผิดสัญญาเช่า ซึ่งมูลเหตุนี้นอกจากเป็นการผิดสัญญาเช่าแล้ว ยังเป็นการกระทำละเมิดอยู่ด้วยในตัว โดยอาจกล่าวได้ว่าเมื่อผู้เช่าผิดสัญญาเช่าหรือสัญญาเช่าสิ้นระยะเวลาการเช่าแล้วผู้เช่ายังคงอาศัยอยู่ในสถานที่เช่า เช่นนี้ย่อมเป็นการอยู่อาศัยโดยไม่มีสิทธิอันเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ให้เช่า ผู้ให้เช่าจึงมีสิทธินำคดีฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้ศาลขับไล่ผู้เช่าออกให้ออกไปจากสถานที่เช่าได้  “เช่า“ การเช่านั้นก็เป็นมูลเหตุอย่างหนึ่งที่ก่อให้เกิดคดีฟ้องขับไล่จำนวนมาก ซึ่งคดีฟ้องขับไล่เนื่องจากการเช่านั้นมีสาระสำคัญดังนี้

 

1.ผู้ให้เช่าไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ให้เช่า แต่ต้องมีอำนาจเอาทรัพย์สินออกให้เช่า เช่น ในฐานะผู้ให้เช่าช่วงที่ได้รับอนุญาต เป็นต้น

2.สัญญาเช่าทรัพย์ก่อให้เกิดบุคคลสิทธิอย่างหนึ่ง ดังนั้น ผู้เช่ามีสิทธิฟ้องร้องดำเนินคดีต่อบุคคลภายนอกที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์ที่เช่าได้

3.สิทธิการเช่าเป็นสิทธิเฉพาะตัวของผู้เช่า ดังนั้นถ้าผู้เช่าตาย สัญญาเช่าก็ย่อมระงับไป เว้นแต่เป็นสัญญาเช่าต่างตอบแทนพิเศษบางกรณีที่สัญญาเช่าย่อมไม่ระงับไปแม้ผู้เช่าตายลง   นอกจากมูลเหตุคดีฟ้องขับไล่ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ยังกรณีอื่น ๆที่อาจเป็นคดีฟ้องขับไล่ได้ เช่นกรณีการใช้สิทธิในฐานะเจ้าของรวมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  มาตรา 1360 เป็นต้น

 

การฟ้องร้องดำเนินคดี

 

ดังที่กล่าวมาข้างต้นแล้วว่าคดีฟ้องขับไล่ที่สำคัญๆคือ คดีฟ้องขับไล่ฐานผิดสัญญาเช่า ดังนั้นเมื่อครบกำหนดสัญญาเช่าแล้วผู้เช่าไม่ยอมออกหรือผู้เช่ากระทำผิดสัญญาเช่า ผู้ให้เช่าสามารถฟ้องขับไล่ได้ โดยฟ้องในข้อหา/ฐานความผิดทั้งผิดสัญญาเช่าและผิดฐานละเมิด ทั้งยังฟ้องเรียกค่าเสียหายหรือค่าขาดไร้ประโยชน์อันเกิดแต่การไม่ได้ใช้สอยสถานที่เช่าได้อีกด้วย ซึ่งในการฟ้องร้องดำเนินคดีฟ้องขับไล่ฐานดังกล่าวมีเอกสารหลักฐานที่สำคัญๆ ได้แก่ หนังสือสัญญาเช่าหรือหลักฐานการให้เช่าหรือให้อยู่อาศัย, สำเนาโฉนดที่ดินหรือหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของสถานที่เช่า เช่น หนังสือรายการประจำบ้าน (กรณีผู้ให้เช่าเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์) , หนังสือบอกกล่าวทวงถามและหรือหนังสือบอกเลิกสัญญา เป็นต้น

สอบถามเพิ่มเติม