ขออำนาจปกครองบุตร

คดีครอบครัว
บริษัท เจ ที ลีเกิ้ล จำกัด
JT Legal Consult
ปรึกษาปัญหากฎหมาย ฟรี
+66 2094 0889
+66 2094 0890
จ. - ศ.
เวลาทำการ 08:30 น. - 17.30 น.
Slider

ขออำนาจปกครองบุตร


อำนาจปกครองบุตร เป็นสิทธิและหน้าที่ที่บิดามารดาพึงมีต่อบุตร บิดามารดาผู้มีอำนาจปกครองมีสิทธิตัดสินใจเกี่ยวกับบุตร เช่นการเลือกนับถือศาสนาหรือการศึกษา ในทางกลับกันบิดามารดามีหน้าที่ที่จะดูแล อบรมสั่งสอนบุตร อำนาจปกครองในกฎหมายแพ่งมีนิยามกว้างกว่าคำว่า “การปกครองดูแล” คุณจะทราบว่ากฎหมายแพ่งนั้น “การปกครองดูแล” นั้นจะหมายความถึงแต่เพียงบิดามารดาที่ได้ดูแลบุตรเท่านั้นแต่อาจจะไม่ได้มี “อำนาจปกครอง” บุตรด้วย

 

ผู้ใช้อำนาจปกครองมีสิทธิ ดังต่อไปนี้

 

1.กำหนดที่อยู่ของบุตร

2.ทำโทษบุตรตามสมควรเพื่อว่ากล่าวสั่งสอน

3.ให้บุตรทำการงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูป

4.เรียกบุตรคืนจากบุคคลอื่นซึ่งกักบุตรไว้โดยมิชอบด้วยกฎหมาย

5.อำนาจปกครองนั้น รวมทั้งการจัดการทรัพย์สินของบุตรด้วย และให้จัดการทรัพย์สินนั้นด้วยความระมัดระวังเช่นวิญญูชนจะพึงกระทำ

 

ข้อจำกัดของอำนาจปกครองบุตร

 

อำนาจปกครองบุตรมีข้อจำกัดตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 กำหนดไว้ว่า นิติกรรมใดอันเกี่ยวกับทรัพย์สินของผู้เยาว์ดังต่อไปนี้ ผู้ใช้อำนาจปกครองจะกระทำมิได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต คือ

1. ขาย แลกเปลี่ยน ขายฝาก ให้เช่าซื้อ จำนอง ปลดจำนอง หรือโอนสิทธิจำนอง ซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้

2. กระทำให้สุดสิ้นลงทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งทรัพย์สิทธิของผู้เยาว์อันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์

3. ก่อตั้งภาระจำยอม สิทธิอาศัย สิทธิเหนือพื้นดิน สิทธิเก็บกิน ภาระติดพันในอสังหาริมทรัพย์ หรือทรัพย์สิทธิอื่นใดในอสังหาริมทรัพย์

4. จำหน่าย ไปทั้งหมดหรือบางส่วนซึ่งสิทธิเรียกร้องที่จะให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิทธิใน อสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ที่อาจจำนองได้หรือสิทธิเรียกร้องที่จะให้ทรัพย์สินเช่น ว่านั้นของผู้เยาว์ปลอดจากทรัพย์สิทธิที่มีอยู่เหนือทรัพย์สินนั้น

5. ให้เช่าอสังหาริมทรัพย์เกินสามปี

6. ก่อข้อผูกพันใด ๆที่มุ่งให้เกิดผลตาม(1) (2) หรือ (3)

7. ให้กู้ยืมเงิน

8. ให้ โดยเสน่หา เว้นแต่จะเอาเงินได้ของผู้เยาว์ให้แทนผู้เยาว์เพื่อการกุศลสาธารณะ เพื่อการสังคม หรือตามหน้าที่ธรรมจรรยา ทั้งนี้พอสมควรแก่ฐานานุรูปของผู้เยาว์

9. รับการให้โดยเสน่หาที่มีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันหรือไม่รับการให้โดยเสน่หา

10. ประกัน โดยประการใดๆ อันอาจมีผลให้ผู้เยาว์ต้องถูกบังคับชำระหนี้หรือทำนิติกรรมอื่นที่มีผลให้ ผู้เยาว์ต้องรับเป็นผู้รับชำระหนี้ของบุคคลอื่นหรือแทนบุคคลอื่น

11. นำทรัพย์สินไปแสวงหาผลประโยชน์นอกจากในกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1598/4(1) หรือ(3)

สอบถามเพิ่มเติม